วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

rawithan: Thailand's Outlook ตอนที่ 1 ประเทศไทยบนปากเหว

rawithan: Thailand's Outlook ตอนที่ 1 ประเทศไทยบนปากเหว: Thailand’s Outlook ตอนที่ 1 ประเทศไทยบนปากเหว  เขียนเมื่อ 5 พค 2555 วันฉัตรมงคล คุณคิดว่าเวลาหมุนเร็วขึ้นไหมครับ ในช่วง 10...

Thailand's Outlook ตอนที่ 1 ประเทศไทยบนปากเหว


Thailand’s Outlook ตอนที่ 1 ประเทศไทยบนปากเหว 
เขียนเมื่อ 5 พค 2555 วันฉัตรมงคล
คุณคิดว่าเวลาหมุนเร็วขึ้นไหมครับ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
คุณคิดว่ามีสัญญาณเตือนหลายอย่างเกิดขึ้นใน 10  ปีที่ผ่านมาที่มนุษย์ทำเป็นไม่สนใจ หรือ ทำเป็น ลืมๆ ไปไหมครับ 
หลังจากนี้ต่อไปอีก 10 -20 ปี คุณคิดว่าวิถีชีวิตของเราจะเปลี่ยนไปอย่างมากใช่ไหมครับ
แล้วเราเตรียมตัวรับมือแล้วรึยัง?
แล้วประเทศไทยเตรียมตัวรับมือแล้วรึยัง?
ประเทศอันเป็นที่รักของเราวันนี้มี”อัตรา”การพัฒนาค่อนข้างต่ำมากถ้าเทียบกับประเทศรอบข้างนะครับทั้งในรูปของสิ่งที่มองเห็นได้ เช่น สาธารณูปโภคต่างๆ กับสิ่งที่มองไม่เห็น  เช่น คุณภาพของประชากร หรือองค์ความรุ้ของประเทศ (national knowledge) เป็นต้น จริงอยู่ทุกวันนี้เราอาจจะเจริญกว่า เวียดนาม พม่า กัมพูชา แต่ด้วยอัตราการพัฒนาของประเทศเหล่านี้เทียบกับอัตราการพัฒนาของประเทศไทย มันน่าคิดนะครับว่าเราจะล้ำหน้าประเทศเหล่านี้ได้อีกนานแค่ไหนกันแล้วน่าคิดต่อไปว่า เราต้องมาแข่งกับพม่าได้ยังไงเนี่ย ในเมื่อ 30 ปีที่แล้วเรายังแซงหน้าเกาหลีอยู่เลย
เรามักได้ยินคนพูดเสมอว่าปัญหาของประเทศไทยต้องแก้ที่ระบบ เช่น การลดคอรัปชั่น การปฎิรูปการศึกษา การสร้างธุรกิจสร้างสรรค์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (creative economy) และอื่นๆอีกมากมาย แต่ส่วนใหญ่พูดจบก็จบแค่นั้นครับ ต่างคนต่างไปทำงานแบบเดิมๆที่ตัวเองทำอยู่ต่อไป โดยลึกๆเราคงภาวนาให้ผู้มีอำนาจเหนือกว่าเรา แก้ปัญหาเรืื่องระบบเหล่านี้  แต่เราก็ได้เห็นกันแล้วว่าที่ผ่านมากระบวนการมันช่างชักช้าเหลือเกิน กว่าโครงสร้างพื้นฐานต่างๆจะวางกันได้ใช้เวลาเกิน 10-20 ปีทั้งสิ้น แถมยังโดนแทรกแซงทางการเมืองจนหลายโครงการเข้าทำนองถอยหลังลงคูลงคลองไปซะอย่างนั้น ในขณะที่ประเทศอื่นเขาสร้างสิ่งเหล่านี้ได้เร็วกว่าเรามาก 
ทำไม? 
ผมคิดว่าคำตอบคือการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนที่มีกำลังพอ คือ เราๆท่านๆนี่แหละครับ 
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เรงต้องพัฒนาความสามารถจากส่วนที่เล็กที่สุดคือความสามารถส่วนบุคคลของเรา เพื่อให้สามาถพัฒนาต่อเนื่องได้เป็น ระดับองค์กร ระกับชุมชน และ ระดับประเทศต่อไป เพื่อให้เราได้มีโอกาสที่จะเป็นส่วนหนึ่งของผู้ที่จะพัฒนาระบบขอประเทศได้และจะได้ทำให้มันเร็วๆกว่านี้ซักที
หมดเวลาของการยืมจมูกคนอื่นหายใจแล้วครับ 
และนี่คือหัวใจของบทความในซีรียส์ Thailand’s Outlook ครับ 
ความไม่แน่นอนนานับประการ ทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก เป็นเรื่องเตือนใจที่ดีที่จะทำให้เราทุกคนต้องเริ่มหันกลับมามองอย่างจริงจังแล้วว่าเราจะทำอย่างไรกับอนาคตของเราเพื่อให้เราอยู่รอดในสังคมที่กำลังเปลี่ยนไปอย่างมาก และในขณะเดียวกันจะทำอย่างไรที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ให้สามารถอยู่รอดบนโลกใบนี้ต่อไปได้อย่างยั่งยืน 
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญสามประการที่่น่าจับตา คือ การเปลี่ยนแปลงของลักษณะการปกครองจริง (ซึ่งหมายถึงอำนาจที่ประชาชนสามารถมีได้ต่อการปกครองประเทศที่มีนัยยะ) การเปลี่ยนแปลงของสภาวะสิ่งแวดล้อม และ การเปลี่ยนแปลงของภูมิศาสตร์ทางเศรษฐกิจ (economic demographic)
การพูดถึงเรื่องการพัฒนาประเทศมันมีหลายมิติครับ สิ่งที่ผมอยากเขียนในตอนที่ 1 คือเรื่องโอกาสครับ หรือถ้าจะให้เฉพาะเจาะจงกว่านั้นคือกระบวนการในการคว้าโอกาสที่เข้ามาครับ 
สมมติ เรายืนอยู่ที่ปากเหว อีกข้างนึงมีทุ่งหญ้าที่อุดมสมบูรณ์กว่าด้านที่เราอยู่เยอะ แต่การจะไปได้เราต้องกระโดดข้ามเหวนี้เสียก่อน  ถ้าทุ่งหญ้าที่อุมสมบูรณ์คือความสำเร็จ การกระโดดข้ามปากเหวก็คือกระบวนในการใช้โอกาสที่เข้ามาน่ะครับ  
การกระโดดข้ามเหวนั้นสิ่งแรกที่ต้องดูคือความลึกของเหวครับ เพราะเกินพลาดพลั้งลงไปต้องดุว่าจะเจ็บตัวแค่ไหน จะปีนขึ้นมาได้ไหม จะแค่เลือดตกยางออกหรือถึงขั้นตายเลยรึเปล่า กระบวนการนี้คือการทำ risk assessment  ครับ เพื่อประเมินดูว่าโอกาสที่เรากำลังจะขว้ามานั้น กระบวนในการได้มามันเสี่ยงกับเราแค่ไหน และเรารับความเสี่ยงได้แค่ไหน 
คราวนี้กลับมาดูความพร้อมของตัวเราบ้าง คนจะกระโดดข้ามเหวได้นั้นต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลักสามประการ
  • ความพร้อมของร่างกาย 
  • เทคนิคการกระโดด 
  • ความพร้อมของจิตใจ 
ผมเปรียบเทียบให้ดูในสามส่วนด้วยกัน
1. ความพร้อมของร่างกาย : ถ้าเปรียบเทียบเป็นองค์กรก็จะหมายถึง องค์การที่มีความพร้อม ทางด้านบุคคล ทุนทรัพย์ โครงสร้างต่างๆ  ถ้าเป็นปัจเจกบุคคล อาจจะหมายถึงความพร้อมทางวุฒิภาวะ ครอบครัว สุขภาพ เป็นต้น
ตัวอย่างของความพร้อมในแง่มุมนี้เช่น องค์กรที่การบริหารงานที่ชัดเจนไม่ซับซ้อน แนวคิดจากผู้บริหารสามารถถ่ายทอดและปฏิบัติได้จริงในรดับปฎิบัติงาน หรือ องค์กรที่สร้างเครดิตที่ดีกับธนาคารและสามารถขอเงินทุนมาต่อยอดธุรกิจเมื่อมีโอกาสสำคัญๆเข้ามาได้ เป็นต้น 
ถ้าหากเป็นปัจเจกบุคคล อาจจะหมายถึง คนที่เป็นที่ยอมรับของคนรอบข้าง มีคนรักใคร่อยากสนับสนุนมาก เป็นคนเครดิตดีไ่ม่เคยคดโกงใคร ได้รับแรงส่งเสริมจากครอบครัว มีสมองและร่างกายที่พร้อมจะทำงานหนักเสมอ เป็นต้น 
ต้องบอกก่อนนะครับว่าองค์กรหรือคนที่ไม่มีสิ่งเหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าจะคว้าโอกาสไว้ไม่ได้ เพียงแต่อาจจะต้องทำงานหนักมากขึ้นเท่านั้นเองครับ 
2 เทคนิคการกระโดด: ในที่นี้หมายถึงต้นทุนทางองค์ความรู้ที่สะสมมาก่อนที่จะถึงเวลาที่โอกาสจะเข้ามาถึง ผมขอเน้นตรงคำว่า “ก่อน” นะครับ 
ผมยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ ลองนึกดูนะครับว่าถ้าคุณต้องกระโดดข้ามเหวโดยการค้ำถ่อ (คือการใช้ไม้ยาวๆช่วยกระโดด) แต่คุณไม่เคยศึกษาเทคนิคนี้มาก่อนเลย แล้วคุณมาเปิดอ่านวิธีก่อนกระโดด 5 นาที คุณคิดว่าผลการกระโดดจะเป็นยังไงครับ คงดูไม่จืดแน่นอน ใช่ไหมครับ
นี่คือเหตุผลที่ต้นทุนทางองค์ความรู้ต้องสะสมมาก่อนที่จะได้ใช้งานจริงๆ ในองค์กรส่วนใหญ่นั้นจะมีการถ่ายทอดองค์ความรู้กันอยู่แล้ล แต่ส่วนใหญ่และโดยเฉพาะ SME อาจจะทำอย่างไม่มีระบบ ทำให้องค์ความรู้นั้นหายไปตามกาลเวลา (องค์กรที่ผมดูแลอยู่ก็มีปัญหานี้เช่นกันครับ) การจัดทำ knowledge center นั้นจึงสำคัญยิ่ง ปัจจุบันเราเห็น knowledge center ออกมาใหลายรูปแบบเช่น Brand Bible หรือ Company Philosophy ต่างๆ เหล่านี้เป็นความพยายามในการถ่ายทอดความรู้ให้คนรุ่นหลังต่อไป ถ้าท่านเป็นผู้บริหารองค์กรท่านต้องให้ความสำคัญกับการ update knowledge center อยู่ตลอดเวลา และหากท่านยังไม่มีระบบที่ว่านี้ ก็ควรจะต้องรีบจัดทำเป็นการด่วน
ถ้าหากมองในมุมของปัจเจก เทคนิคการกระโดดนี้คือการสะสมต้นทุนทางความรู้นั้นเอง นอกเหนือจากการเรียนแล้ว เรายังต้องหาต้นทุนทางความรู้เพิ่มให้ชีวิตทุกวัน แต่ละคนก็อาจจะมีวิีการที่แตกต่างกันออกไป แต่วิธีที่ผมอยากจะแนะนำสองวิธีคือการอ่านหนังสือ และ การหาโอกาสในการคุยกับคนที่เก่งกว่าเราครับ สองวิธีนี้ช่วยเพิ่มต้นทุนทางความรู้ได้เร็วและสามารถทำได้ทุกเวลาครับ 
เมื่อเป็นผู้รับแล้วก็อย่าลืมเป็นผู้ให้ด้วย อีหน้าที่ของเราคือการถ่ายทอดความรู้ของเราให้คนอื่นต่อไป ซึ่งนอกจากจะทำให้เรามีความสุขแล้ว เรามักจะได้ความรู้เพิ่มจากกระบวนการถ่ายทอดนั้น ในแง่มุมที่เรานึกไม่ถึงอีกด้วย 
3 ความพร้อมของจิตใจ : อันนี้คือ spirit ของนักสู้นั้นเอง ถ้ามองในแง่องค์กร ก็จะหมายถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนทั้งองค์กรเพื่อมุ่งไปสูจุดหมายใดจุดหมายหนึ่ง ความสามัคคี และ team spirit ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นได้จากความพยายามในการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันซึ่งจะต้องเริ่มทำจากระดับบริหารและต้องถ่ายทอดลงมาได้จริง รวมถึงต้องเป็นการทำที่ต่อเนื่องและยาวนาน
ถ้าหากมองในมุมของปัจเจก การฝึกจิตใจ เอาชนะใจตัวเองในเรื่องเล็กๆน้อยๆตลอดเวลา เช่น ตื่นเช้าขึ้นอีกหน่อย ลุกไปออกกำลังกายในตอนที่ขี้เกียจที่สุด ตัดใจไม่กินขนมจานโปรด ฯลฯ​เหล่านี้จะช่วยฝึกจิตใจให้เราชนะใจตัวเองได้ทีละเล็กละน้อย เมื่อถึงเวลาที่โอกาสในการทำการใหญ่เข้ามาจิตใจของเราจะพร้อมและฮึกเหิม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในความสำเร็จ จิตใจที่ อ่อนแอ ห่อเหี่ยวและโลเลทำการใหญสำเร็จยากครับ
น่าจะพอประมาณนะครับสำหรับมุมมองเรื่องโอกาส ในตอนต่อไปผมจะคุยเจาะลึกถึงเรื่อง”ต้นทุนประเทศไทย” ครับไว้เขียนเสร็จเมื่อไรจะแจ้งบน facebook นะครับ ขอบคุณครับ
Cheers 
Tab