วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

เตรียมความพร้อมเป็นเจ้าของกิจการภาค 2


เตรียมความพร้อมเป็นเจ้าของกิจการภาค 2 
วันนี้ผมไปวิ่งมินิมาราธอนกับ TMB มาครับ นอกจากจะเหนื่อยมากแล้วผมยังได้ขอคิดที่ดีมากกลับบ้านมาด้วย
ท่านที่เคยไปวิ่งตามสวนสาธารณะคงนึกออกนะครับว่างทางวิ่งมันไม่ได้กว้างมากประมาณถนนเลนนึงได้ เรื่องที่น่าสนใจคือ ในช่วงระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตรแรกนั้น มีนักวิ่งมากมายพยายามลงไปวิ่งบนขอบทางเพื่อหาช่องในการแซงให้ได้ เพราะทางหลักคนเยอะมากเบียดเสียดยัดเยียดแซงกันลำบาก แต่พอใกล้เส้นชัยประมาณกิโลเมตรที่ 9 นั้น คนส่วนใหญ่เดินกันไปแล้ว ส่วนคนที่ยังวิ่งอยู่ประมาณการณ์ด้วยสายตาคิดว่าเหลือคนไม่มากที่เข้าเส้นชัยแบบวิ่งตลอด (ไม่มีแอบเดินผสมด้วย) 
เรื่องนี้ทำให้ผมคิดได้ว่ามันคล้ายกับการทำธุรกิจส่วนตัวเหมือนกัน เพราะว่าส่วนใหญ่ตอนเริ่มนั้นอะไรก็ดีไปหมด แรงเยอะ ไฟเยอะ แต่ทำๆไป ล้มหายตายจาก หรือ หมดแรงหมดกำลังใจไปดื้อๆ
นักวิ่งที่สิ่งจนจบนั้นผมเชื่อว่าต้องประกันสองอย่างครับ คือ ร่างกายที่พร้อม และ ใจที่ไม่ยอมแพ้ เช่นเดียวกับการทำธุรกิจ ทรัพยากรต้องพร้อมและ ที่สำคัญจะต้องไม่ยอมแพ้ด้วย โดยส่วนตัวเชื่อว่าเรื่องใจสำคัญที่สุด เพราะผมเคยลองหลายครั้งแล้วว่าถ้าเราตั้งใจจริง เช่นบอกว่าวันนี้เราจะวิ่ง 20 กิโลจะไม่หยุดจนกว่าจะครบไม่ว่าจเกิดอะไรขึ้นก็ตาม  ในตอนวิ่งแม้เราจะรู้สึกว่าขาเราไปไม่ไหวแล้วแต่ถ้าใจยังสู้อยู่ส่วนใหญ่ทำได้ทั้งนั้นละครับ เรื่องนี้ก็จริงกับการทำกิจการส่วนตัวด้วยเช่นกัน
มาเข้าเรื่องซักที ต่อภาคสองของการเตรียมความพร้อมการเป็นเจ้าของกิจการ ซึ่งถึงตอนนี้เหมาะกับคนที่ทำกิจการมาซักพักแล้ว กำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการขยายงาน สิ่งที่คำนึงถึงเพิ่มเติมจาก ภาค 1 ที่ผมเขียนไปแล้วนั้นได้แก่
Promise less, Deliver more : คือการทำให้เกินความคาดหวังของลูกค้าตลอดเวลา หรืออย่างน้อยที่สุดต้องทำให้ได้เท่ากับที่สัญญาไว้ ปัจจัยที่จะสามารถทำให้ได้สำเร็จคือการวางโครงสร้างและกลยุทธ์ไว้รอรับแผนการบริการลูกค้าของคุณครับ 
ทำ feasibility study อยู่ตลอดเวลา : ถ้าคุณคิดว่าการทำ  feasibility study นั้นทำเฉพาะตอนเริ่มโครงการละก็ คุณคิดผิดถนัดเลยครับ เพราะเรื่อง feasibility study นั้นต้องมีการทำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา มันเป็น indicator ตัวนนึงที่เหมือนกับแผนที่ให้บริษัทคุณล่ะครับ
อยากโตต้องมีธรรมาภิบาล : ในอดีตเป็นปกติที่ SME มักนิยมมีสมุดบัญชีสองเล่ม เล่มนึงเอาไว้ดูเอง เล่มนึงส่งสรรพากร ผมบอกได้เลยครับว่าวิธีนี้อาจจะโอเคในยุคพ่อ-แม่เรา แต่ไม่โอเคอีกต่อไปในยุคของเรา ถ้าคุณต้องการกิจการที่ประสบความสำเร็จมากๆ เรื่องความโปร่งใสเป็นสิ่งที่สำคัญนะครับ ทำให้ถูกต้อง โปร่งใส แล้วมันจะส่งผลดีในแง่มุมที่คุณนึกไม่ถึงเลยทีเดียว
หรือแม้แต่ในเรื่อง software คอมพิวเตอร์ผมยังอยากแนะนำให้ใช้ของจริง หรือไม่ก็ใช้พวกของที่แจกฟรีไปเลย เช่น google docs เป็นต้น 
เข้าใจกฏหมาย : คุณต้องเข้าใจหรือสามารถเข้าถึงคนที่เข้าใจกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจุคุณให้มากๆครับ เพื่อป้องกันปัญหามากมายที่เิกดจากความไม่รู้ในเชิงเทคนิคขอตัวคุณหรือทีมงานของคุณ โดยปรกติความผิดพลาดที่เกียวกับเรื่องกฏหมายมักเป็นเรื่องใหญ่ เพราะฉะนั้นกันไว้ดีกว่าแก้แน่นอนครับ
มีการติดตามและวิเคาระห์รายงานทางการเงิน  :  นักธุรกิจที่ดีต้องตอบได้โดยแทบไม่ต้องเปิดคอมพิวเตอร์ดูเลยนะครับว่าเขามี ลูกหนี้เท่าไร สินค้าคงคลังเท่าไร  %   กำไรเบื้องต้นเท่าไร ฯลฯ เรื่องพวกนี้ต้องคอยติดตามโดยละเอียดและข้อมูลต้องมีความทันสมัย คือไม่ใช่เอาข้อมูลของ 6 เดือนที่แล้วมามันก็อาจจะไม่ทันการณ์แล้วละครับ 
นอกจากนั้นคุณต้องเข้าใจตัวเลขแต่ละตัวด้วยนะครับว่ามันจะบอกอะไรเรา ข้อมูลพวกนี้เป็นเครื่องทำนายอนาคตของบริษัทที่ดีที่สุดครับ เช่นการเพิ่มขึ้นของลูกหนี้ อาจจะหมายถึงแนวโน้มการใช้เงินสดเยอะขึ้นของเรา ซึ่งจะดีกว่ามากถ้าเรารู้ก่อนและเตรียมตัวไว้แต่เนิ่นๆ
วันนี้เอาเท่านี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวไว้สัปดาห์หน้ามาต่อ
Cheers
Rawit in Thailand
rawithan.blogspot.com
www.rawit.in.th

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

Book Review # 7 Business Model Generation




Business Model Generation 
Steve Jobs เคยบอกไว้ว่าเวลาจะคิดเรื่องสำคัญๆ ให้มองผ่านมุมมองของเด็ก แต่วิเคาระห์ข้อมูลแบบผู้ใหญ่ ผมคิดว่านี่แหละครับ คือ concept หลักของหนัสือเล่มนี้
หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Alexander Osterwalder และ Yves Pigneur ที่น่าสนใจคือหนังสือเล่มนี้มีคนช่วยออกความคิดเห็นในการเขียนด้วยจากกว่า 45 ประเทศทั่วโลก 
โดยปรกติผมจะไม่ค่อยได้อ่านหนังสือเฉพาะทางแบบนี้เท่าไร แต่พี่ที่สนิทกันบอกว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือขายดีอันดับสองของร้านหนังสือชื่อดังของฮ่องกงก็เลยอดไม่ได้ต้องซื้อมาอ่านซักหน่อยแล้วก็พบว่ามันดีกว่าที่คิดนะ
หน้าปกของหนังสือเขียนไว้แบบนี้ครับ
“You’re holding a handbook for visionaries, game changers, and challengers striving to defy outmoded business models and design tomorrow’s enterprises.”
ที่ผมชอบหนังสือเล่มนี้เพราะว่าตั้งแต่เรียนจบปริญญาโท รู้ึกว่าตัวเองไม่ค่อยได้ทำงานโดยใช้ framework เท่าไร ผมก็คงเหมือนกับอีกหลายๆท่านที่ทำงานโดยอาศัยความรู้สึก หรือ “กึ๋น” เป็นหลักซึ่งแรกๆมันก็โอเคละ่ะครับ แต่เมื่อองค์กรเติบโตขึ้นวิธีการทำงานแบบเดิมๆของผมก็ชักไม่เข้าท่า เพราะมันเริ่มก่อให้เกิด”มุมมืด” หรือจุดที่เราไม่สามารถเข้าถึงองค์กรได้ รวมถึงการที่คนส่วนใหญ่ในองค์กรไม่เข้าใจถึงทิศทางขององค์กร และที่สำคัญที่สุด ในบางครั้งเราเสียเวลาไปกับเรื่องที่มันไม่สำคัญในขณะที่ให้เวลากับเรื่องที่สำคัญน้อยเกินไป ผมถึงดีใจมากที่ได้มีโอกาสกลับไปทำอะไรเหมือนตอนเรียนหนังสืออีกครั้งโดยการนำ framework ในการทำ business model มาใช้กับธุรกิจอย่างจริงจัง
หนังสือเล่มนี้ให้แนวคิดถึงการใช้ framework แบบใหม่ๆกับการร่างแผนธุรกิจ โดยรายละเอียดของหนังสือเต็มไปด้วยแง่มุมที่น่าสนใจที่จะสามารถทำให้เรา  tackle ปัญหาต่างๆของธุรกิจเราได้ รวมถึงเป็นการวางรากฐานทีดีของธุรกิจใหม่ด้วย
หนังสือเขียนได้น่าสนใจและไม่เวิ่นเว้อ โดยให้รายละเอียดกำลังพอดีๆ ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป 
เนื่องด้วยลักษณะของตัวหนังสือ รีวิววันนี้ขอไม่ลงรายละเอียดเลย เพราะว่ามันจะเป็นการ influence แนวคิดของท่านเกินไป ผมอยากให้ท่านที่จะอ่านได้สรุปแนวคิดของท่านเอง จะเป็นประโยชน์มากกว่าครับ
สำหรับท่านที่กำลังเขียน business plan กำลังอยากเปลี่ยนแนวทางการทำธุรกิจ หรือ จะเริ่มธุรกิจใหม่ๆ หนังสือเล่มนี้ควรมีติดออฟฟิสไว้เป็นอย่างยิ่ง

เล่มนี้ผมให้ 7.5/10 ครับ




Cheers


Rawit in Thailand


rawithan.blogspot.com


rawit.in.th

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

Book Review # 6 : The Brand Gap


The Brand Gap 
ได้เห็น presentation ของ The Brand Gap ใน slideshare.net  ที่เขียนโดย Marty Neumeier ซึ่งเป็น presentation ที่มีคนเข้าไปดูเป็นลำดับต้นๆของ web เพราะมี content ที่สั้น ง่าย แต่ลึกซึ้ง เมื่อผมได้เจอหนังสือเรื่องเดียวกัน เพราะเชื่อว่าเนื้อหาที่อธิบายรายละเอียดของ presentation นั้นจะน่าสนใจไม่แพ้กัน
หนังสือแล่มนี้เป็นหนังสือที่แปลกเพราะมีการใช้รูปภาพและ illustration  เพื่อเน้นเพียงเนื้อหาสำคัญมากๆที่ต้องการจะสื่อเท่านั้น คือเอาแต่ “เนื้อ” เท่านั้น จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการทบทวนหลักของการสร้างแบรนด์มาก
สิ่งที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อคือการเชื่อมระหว่าง “logic” และ “magic”
quote ที่ทรงพลังที่สุดในหนังสื้อเล่มนี้ผมขอยกให้
“A Brand is not what YOU say it is, it’s what THEY say it is”
แบรนด์ที่แท้จริงแล้วคือความรู้สึกโดยรวมๆทุกแง่มุมที่ผู้บริโภค ลูกค้า หรือบุคคลทั่วไปมีต่อ สินค้า บริการ หรือ องค์กรของท่านนั้นเอง โดยความรู้สึกที่ว่านี้จะมาในรูปของความรู้สึกของ emotional มากกว่า logical  แม้ว่าเราจะพยายามจะใส่ logic ให้มันก็ตาม ซึ่งนักการตลาดทุกคนจะทราบดีว่าความยากมันอยู่ตรงนี้แหละครับ
เราอาจจะมองแบรนด์ในแง่มุมของ “ความเชื่อมั่น” ก็ได้ครับ แบรนด์ที่ได้รับความเชื่อมั่นมากที่สุดในศตวรรษที่ผ่านมาคงจะหนีไม่พ้นแบรนด์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา หลักฐานของความเชื่อถือที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือประเทศต่างๆทั่วโลกต่างเอาเงินของอเมริกาที่พิมพ์ออกมาโดยไม่ได้มีหลักประกันของการพิมพ์เงินไปเก็บไว้กันมากมาย (ในความเป็นจริงคงไม่ได้มีการพิมพ์ออกมาเป็นแบง์จริงๆแต่เป็นการบริหาร money supply ผ่าน treasury bill)  แม้วันนี้สหรัฐอเมริกาจะมีปัญหาทางเศราฐกิจครั้งใหญ่ แต่สกุลเงิน USD ก็ยังถูกถือโดยธนาคารกลางจากทั่วโลกมากที่สุด นี่ก็เป็นเพราะว่าอเมริกาสร้างความน่าเชื่อถือใน concept ของแบรนด์ผ่านเครื่องมือทาง เศราฐกิจ การทูต การทหาร และเสถียรภาพทางการเมือง (รวมถึงหนัง hollywood  ด้วย) ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมานั้นเอง
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกทุกวันนี้นั้นตัวแบรนด์เป็นสินทรัพย์ที่มูลค่ามากที่สุด มากกว่า hard asset ทุกอย่างรวมกัน คุณลองนึกถึงแบรนด์อย่าง Apple หรือ Coca Cola ว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าวันนึงพวกเขาต้องขายของโดยไม่สามารถใช้แบรนด์ของตัวเองได้
การสร้างแบรนด์นั้นต้องอาศัยทั้งกลยุทธ์และความคิดสร้างสรรค์ควบคู่กันไป เมื่อไรก็ตามที่มีช่องว่างระหว่างสองสิ่งนี้นั้นก็คือ brand gap นั้นเอง ซึ่งเราจะต้องหาทางเชื่อมช่องว่างนี้ให้ได้ ถ้าหากจะเปรียบเทียบอีกอย่างก็คือการหาจุดสมดุลระหว่างสมองซีกซ้ายกับสมองซีกขวาให้ได้
หนังสือเล่มนี้ให้คำนิยามของแบรนด์ชั้นดีหรือ charismatic brand ไว้ได้ดีมากผมขอยกมาเลยนะครับ 
“A charismatic brand can be defined as any product, service or a company for which people believe 
การสร้าง charismatic brand นั้นต้องมีทั้งความกล้าและพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ พร้อมทั้งอย่าลืมหลักการสร้าง brand ทั้ง 5 ประการคือ
Differentiate : ก่อนจะทำอะไรก็แล้วแต่ เราต้องสามารถตอบคำถามของตัวเองให้ได้ก่อนว่า เราเป็นใคร, เราทำอะไร และที่สำคัญที่สุดคือ เพราะอะไรสิ่งที่เราทำถึงมีความหมาย ถ้าตอบคำถามไม่ได้หรือคำตอบยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ควรต้องกลับไปคิดใหม่ครับ 
การ differentiate ต้องละเอียดอ่อนและกล้าครับ เช่น งาน design ที่ต้องลงทุนลงแรงอย่างจริงจัง เราได้เห็นของดีๆที่มาตกม้าตายตอนงาน design มานักต่อนักแล้ว เป็นต้น 
การจะทำงานที่สร้างความแตกต่างอย่างมีความหมายได้ต้องใ่ส่พลังแห่งความคิดบวกลงไปเยอะ ยกตัวอย่างเช่น trend ตอนนี้ที่ผมเห็นว่ากำลังมาแรงมากๆ คือแนวติดธุรกิจ”จิตใจดี”ครับ เพราะผู้บริโภคยุคใหม่มีแนวโน้มที่จะยอมที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อโอกาสในการช่วยให้โลกนี้น่าอยู่มากขึ้น แม้จะเป็นเรื่องเพียงเล็กน้อยก็ตาม อย่างเช่น ปกติเราจะเคยได้ยินแต่ buy one, get one แต่รองเท้า Toms ทำโครงการ buy one, give one ซึ่งเมื่อคุณซื้อรองเท้า 1 คุ่ รองเท้าอีกคู่จะถูกส่งไปประเทศโลกที่สามเพื่อให้คนที่ไม่มีเงินซื้อรองเท้า เป็นไงครับ แนวคิดนี่สุดยอดมาก  หรือ อีกแนวคิดนึงคือแนวคิดของการ  design it your self ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสที่จะออกแบบสินค้าด้วยตนเอง (บางส่วน) ซึ่งมัน fit กับ trend ของความเป็นปัจเจกบุคคลที่นับวันจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ 
อย่างที่ Philip Kotler ได้เขียนไว้ใน marketing 3.0 โดยเน้นหลักๆไปที่เรื่องของการสร้างแบรนด์แบบ human centric ซึ่งเป็น mega trend ที่จะอยู่ไปอีกเป็น 10 ปีแน่นอน ผมแนะนำให้ไปซื้อหนังสือเรื่องเกี่ยวกับ human centric มาอ่านหลายๆเล่มเลยครับ  
 (P.S. ถ้าใครยังไม่ไได้อ่าน marketing  3.0 ผมแนะนำให้ซื้อมาอ่านด่วนครับ)
แต่ไม่ว่าคุณจะ differentiate  อย่างไรก็ตามต้องไม่ลืมสามคำนี้นะครับ
focus
focus
focus
Collaborate : การสร้างแบรนด์นั้นไม่ต่างอะไรกับการเล่นคอนเสริ์ตของวงดนตรี  orchestra  หรอกครับ เพราะว่าต้องมีการอาศัยความร่วมมือจากหลายส่วนมาก ระบบการบริหารจัดการทรัพยากรจึงมีความสำคัญยิ่ง การพิจารณาว่าส่วนไหนควรทำ in-house ส่วนไหนควร out-source ต้องทำให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของเรา  ที่สำคัญคนที่เป็น conductor ต้องเข้าใจว่าจุดมุ่งหมายของงานคืออะไร แต่ละงานมีรายละเอียดอย่างไร ต้องเข้าใจถึง critical factor ของแต่ละงาน และไม่หลงไปกับเรื่องที่ไม่ใช่แก่นจริงๆของงานที่ทำอยู่  
Innovate : ลองนึกถึงโฆษณาที่คุณเห็นอยู่ทุกๆวันซิครับ ว่ามีโฆษณาตัวไหนที่คุณจำได้บ้าง และยิ่งกว่านั้นมีโฆษณาตัวไหนที่คุณประทับใจถึงขั้นอยากออกไปซื้อของในโฆษณามาใช้  ผมตอบแทนเลยว่าไม่ค่อยมีหรอกครับ  
เรื่องจริงเรื่องนึงที่น่าตกใจกลัวก็คือ ประสิทธิภาพของสื่อโฆษณาแบบดั้งเดิมนั้นลดลงอย่างมาก แต่ราคากลับเพิ่มขึ้นสวนทางกัน
เชื่อว่าทุกท่านคงเห็นด้วยว่าถ้าไม่มีความ innovative แล้ว สินค้าหรือบริการของคุณนั้นแถบไม่แตกต่างจากคนอื่นจริง คำว่า innovative อาจจะเกิดได้จากตัวสินค้าหรือแนวคิดในการบริหารจัดการใหม่ๆก็ได้ เช่น zipcar ที่เปลี่ยนแนวคิดเรื่องการเช่ารถ โดยอาศัย common sense ง่ายๆก็สามารถสร้าง model ธุรกิจดีๆได้แล้ว 
ในบางครั้งคุณต้อง generate demand ที่ไม่เคยมีมาก่อน ดังเช่นเช่น ประโยคอมตะของ Henry Ford ที่ผมขอยกมาอีกครั้งหนึ่งว่า “If we had asked the public what they wanted, they would have said faster horses.” 
ในบางครั้งเวลามีความคิดที่แปลกแหวกแนวและคุณพิจารณาอย่างดีแล้ว ก็ทำเถอะครับ ชีวิตเราไม่ได้ยืนยาวนานอะไรมากมายนัก อย่าให้ความคิดของคนอื่นมาทำลายความฝันของคุณได้นะครับ 
Validate : ต้องเข้าใจว่าผู้คนเปลี่ยนไปเยอะนะครับ และการสื่อสารทางเดียวนี่แทบไม่มีอีกแล้วเพราะจากการสื่อสารแบบ one to many จะกลายเป็นแบบ many-to-many ซึ่งการเข้าใจเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งเท่านั้นจึงตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ (แนะนำให้ไปอ่านเรื่อง crowd sourcing ของ Jeff Howe) เพราะฉะนั้นก่อนจะลงทุนทำอะไรซักอย่างขอให้มีการ research ซะหน่อยนะครับ อาจจะเป็น mass scale ก็ได้ถ้าคุณมีเงิน หรือจะทำเองก็ได้ครับ มีสองอย่างที่ต้องระวังคือ ต้องตั้งคำถามใหู้กและต้องวิเคาระห์ข้อมูลให้เป็น เพราะหลายครั้งคนเราตอบอย่างนึงแต่ตอนซื้อของจริงๆทำอีกแบบนึงก็มีเยอะนะครับ 
Cultivate : แนวคิดของการทำแบรนด์ในยุคนี้คือเราต้องการให้แบรนด์มีึความเป็นมนุษย์ที่สุดเท่ที่จะทำได้ครับ เพราะฉะนั้นบ้างครั้งเราต้องเสี่ยง กล้าได้กล้าเสีย บางครั้งอาจถูก อาจผิดบ้าง แต่ก็เป็นเรื่องธรรมดา ที่สำคัญต้องมีความเอาใจใส่กับแบรนด์เสมอ และต้องจริงใจกับลูกค้า แบบมนุษย์ที่ดีคนนึงพึงกระทำ 
 ศาสตร์ของการทำแบรนด์เป็นเรื่องพูดง่ายทำยากเพราะหลักการบางอย่างมันเขียนออกมาเป็นตัวอักษรไม่ได้ แต่ขอเพียงคุณ เปิดตา เปิดหู และเปิดใจให้กว้าง ใช้ชีวิตโดยตั้งคำถามเยอะๆและไม่ยอมรับสิ่งที่เป็นอยู่เพียงเพราะว่าเป็นการทำตามๆกันมา แค่นี้เส้นทางก็ง่ายขึ้นเยอะแล้วครับ
 ก็คงมีคร่าวๆประมาณนี้นะครับ ถ้าอยากไปดู presentation นี้ก็ไปได้ที่  www.slideshare.net   
 สำหรับหนังสือเล่มนี้แม้เขียนกว้างๆแต่ก็ใช้วิธีที่น่าสนใจดี ผมให้ 7/10 ครับ

 เล่มต่อไปมาติดตามหนังสือที่กำลังเป็นที่กล่าวถึงอย่างมากชื่อ Change by design ของ​Tim Brown ผู้บริหารของ IDEO รับรองว่าสนุกแน่นอนครับ
ขอบคุณครับ
Rawit in Thailand
rawithan.blogspot.com
www.rawti.in.th

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

Book Review # 5 : the old rules of marketing are dead




The old rules of marketing are dead
“Lead and others will follow”
quote ที่ทรงพลังในบทสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้ตอนที่ผมพลิกอ่านผ่านอยู่ที่ b2s คือสาเหตุที่ผมหยิบหนังสือเล่มนี้มาโดยไม่ลังเล
หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Timothy R Pearson ซึ่งเป็น CEO ของ Zyman group บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของอเมริกา ตอนอ่านหนังสือเล่มนี้แรกๆทำให้นึกถึงการอ่าน slide แบบ bullet point เพราะเขียนแบบสั้นๆและตรงประเด็น 
ใครชอบอ่านตัวอย่างเยอะๆจะชอบหนังสือเล่มนี้แน่นอน เพราะตัวอย่างเยอะมาก และ แน่นอนเป็นตัวอย่างที่ค่อนข้างจะคุ้นเคยอยู่แล้ว แต่การเอาเรื่องในหนังสือมาใช้ตรงระวังนิดนึงนะครับ เพราะว่า form and content ของเนื้อหาโดยรวมเน้นไปที่ตลาดของสหรัฐอเมริกาซึ่ง develop ล้ำหน้าเราไปเป็น 10 ปี เพราะฉะนั้นอ่านแล้วต้องปรับนิดนึงก่อนนำมาใช่้นะครับ
โดยรวมหนังสือเล่มนี้เขียนเรื่องที่เรารู้กันอยู่แล้ว แต่เป็นการตอกย้ำที่ดีเพราะบางครั้งเมื่อเราทำงานไป เราก็อาจจะสูญเสีย focus ของภาพใหญ่ได้ และทำให้เราหลงทาง หนังสือเล่มนี้เขียนถึงหลักที่สำคัญที่จะเป็นเหมือน “เข็มทิศ” ในการเดินทางในเส้นทางสายธุรกิจนี้
ถ้าเราลองสังเกตดูกันจริงๆจังๆแล้วเราจะเห็นว่า การทำการตลาดของบริษัทกว่า 90% ของโลกทำการตลาดแบบ “ทำเพราะว่าก่อนหน้านี้เคยทำแบบนี้” ซึ่งสำหรับผมคิดว่าเป็นเรื่องที่เศร้ามาก เพราะการทำการตลาดจะขาดความ”สนุก”ไปเยอะถ้าไม่ใส่ initiative ไป ชีวิตคนเราต้องตั้งคำถามครับ อย่ายอมรับเพียงสิ่งที่ทำตามๆกันมา 
ผมบอกน้องๆที่ทำงานเสมอว่า การทำการตลาดที่สนุกและได้ความรู้เยอะๆ ต้องมีเงินน้อยครับ :) 
กลับเข้าเรื่องก่อนดีกว่า หนังสือเล่มนี้พูดถึง old marketing rules ว่าเป็นดังต่อไปนี้ครับ 
Budgets define strategy 
A brand is just a brand 
It’s all about the quantitative research 
Advertising is the answer 
Marketing results cannot be measured 
Technology isn’t for everyone
เราลองมองย้อนกลับมาบริษัทของเราดูนะครับ ว่ายังมีข้อไหนที่เราทำอยู่บ้าง หลายข้อผมเองก็ยังทำอยู่ แต่กำลังจะเริ่มเปลี่ยน....ด่วน
เพราะกำลังอยู่ในพื้นฐานของโลกใหม่  หรือความปกติแบบใหม่ (new normal) การเกิดขึ้นของ social media การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมที่ฉับพลัน วงจรเศรษฐกิจที่สั้นลงมาก บทบาทใหม่ของภาครัฐ และดุลยภาพของอายุเฉลี่ยของประชากร ปัจจัยเหล่านี้และอีกหลายปัจจัย เป็นสาเหตุที่การทำธุรกิจต้องเปลี่ยนไปอย่างมากด้วยเช่นกัน การทำธุรกิจแบบเดิมจึงไม่ต่างอะไรกับ กบที่อยู่ในน้ำที่กำลังถูกค่อยๆต้มให้เดือด ที่กว่าจะรู้ตัวก็สายเสียแล้ว
เราต้องเข้าใจก่อนว่า การตลาดที่ดีนั้นต้องมาจาก brand core essence ที่แข็งแรง ถ้าเราไม่เข้าใจถึงแก่นของ brand เรา การแตกไลน์สินค้านั้นจะทำออกมาได้ไม่ดี และอาจจะทำให้เกิดหายนะได้ในอนาคต เช่น ในเคสของ Sears เป็นต้น และการเข้าใจถึง brand core essence นี้เองที่จะทำให้ เราสามารถผลิตสินค้าให้โดนลูกค้าจริงๆได้ เพราะถ้าสินคาหรือบริการไม่ได้ถูกพัฒนามาจากความ”จริง”ของบริษัทแล้วละก็ ในที่สุดลูกค้าก็จะรู้แน่นอน การเอา core essence มาพัฒนาผลิตภัณฑืนั้นจะทำให้เราได้สุดยอดสินค้าเช่น Swiffer ที่เป็นสินค้าทำความสะอาดบ้าน เป็น  เป็นเคสที่น่าสนใจมาก ยังไงลองไปหาอ่านใน google ดูนะครับ
เมื่อเรามี core essence ที่แข็งแรงแล้วนั้น การสื่อสารถึงผู้บริโภคก็สำคัญมากเช่นกัน ต้องอย่าลืมนะครับว่าเดี๋ยวนี้ไม่ว่าข่าวดีข่าวร้ายเดินทางเร็วมาก เพราะฉะนั้นการออกแบบระบบเพื่อป้องกันและแก้ไขข่าวในด้านลบของบริษัทนั้นสำคัญเป็นอย่างยิ่งและเป็นสิ่งที่ต้องลงทุน การจะทำได้ต้องวิเคาระห์และเข้าใจถึงหลักการของ social media ให้ถ่องแท้ด้วยนะครับ และที่สำคัญที่สุดการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเราเจอเหตุการณ์สำคัญๆหลายอย่างมากกว่าช่วง 50  ที่ผ่านมาอีก และแนวโน้มนี้ยังคงเพิ่มขึ้นสูงต่อไป เพราะฉะนั้นต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งไม่คาดฝันทั่วทุกประเภทครับ 
Brand Architecture ที่ดีต้องกิดจากบริษัทที่ คิดดี ทำดี และ จริงใจต้องผู้บริโภค ถึงแม้มันอาจจะฟังดูโบราณ แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญจริงๆครับ จำเหตุการณ์ตอนที่ BP ทำน้ำมันรั่วที่แท่นขุดเจาะในอ่าว Mexico ได้ไหมครับ เรื่องนี้นอกจากจะทำให้ BP เสียเงินค่าปรับ มหาศาลแล้ว สิ่งที่ประชาชนโกรธที่สุดไม่ใช่เรื่องน้ำมันรั่ว แต่เป็นเรื่องที่ BP พยายามปกปิดข่าวและแจ้งข่าวออกมาให้ดูน้อยกว่าความเป็นจริง ความไม่จริงใจลักษณะนี้แหละครับ ที่ส่งผลร้ายต่อ brand อย่างมหาศาล หรือ อีกเคสที่เราน่าจะจำกันได้คือเรื่องคันเร่งของรถ Toyota ที่เป็นสาเหตุของอุบัติเหตุหลายรายในสหรัฐอเมริกาในปี 2009 ซึ่งเบื้องต้น Toyota ออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นสาเหตุจากรถของตนเอง แต่ภายหลังผลการสอบสวนพบว่าเป็นความผิดของ Toyota จริง เรื่องนี้ทำลาย brand ของ  Toyota ในสหรัฐอเมริกาไปอย่างมากทีเดียวครับ
การสร้าง brand ที่ดีนั้นต้องมีการหาข้อมูลครับ เพราะฉะนั้นเราต้องทำ research ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง แต่ต้องระวังไว้อย่างนะครับว่าผู้บริโภคนั้นตอบคำถามกับทำจริงๆเป็นคนละเรื่องกันครับ ถ้าสงสัยว่าทำไมลองไปอ่านหนังสือเรื่อง Buyology ที่ผมเคยได้รีวิวไว้ก่อนหน้านี้แล้ว การ research ต้องทำหลายแง่มุมนะครับ เพื่อ capture angle เหล่านี้ให้หมด
ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็แล้วแต่เราต้องวัดผลให้ได้นะครับ เพราะฉะนั้นการวาง strategy เรื่องการติดตามผลของสิ่งที่เราทำไปนั้นมีความสำคัญทีเดียว จะวัดผลได้ดี mechanic ในการวัดต้องดีครับ การสร้าง mechanic มันต้องมาจากการทำ framework ซึ่งมันค่อนข้างเฉพาะเจาะจงกับแต่ละสินค้าหรือบริการ แต่อย่าทำแผนการตลาดอะไรก็แล้วแต่ โดยปราศจาก framework เป็นอันขาดครับ เพราะว่ามันจะวัดผลไม่ได้ เมื่อวัดผลไม่ได้การตัดสินใจก็มรโอกาศผิดพลาดสูง
นอกจากนั้น การสื่อสารสิ่งที่เราอยากพูดถึงลูกค้านั้นสำคัญยิ่ง แน่นอนว่าตอนนี้ share of voice มันสูงซะจนเราเริ่มไม่แน่ใจแล้วว่าสิ่งที่เราทำๆกันอยู่มันจะได้ผลอีกต่อไปไหม traditional media ที่เราใช้ๆกันอยู่มันจะช่วยให้เราขายของได้อีกต่อไปรึเปล่า หรือเราต้องไปทางใหม่ ?
ผมอยากให้ทุกท่านได้ลองไปอ่านเคสของ red bull ในต่างประเทศดูนะครับ การทำ viral marketing  ของ red bull นั้น execute ออกมาได้อย่างชาญฉลาด และเป็นต้นแบบของการ think outside the box
แต่ต้องระวังนะครับ เพราะว่าสินค้าแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน เลือก tools ในการพูดกับลูกค้าให้ถูกต้องและเหมาะสมกับตลาดของเรานะครับ และอย่าทำเพราะคิดว่าต้องทำเพราะคนอื่นทำครับ
อีกสิ่งนึงที่หนังสือเล่มนี้พูดถึงเยอะคือเรื่อง customer’s service ที่เคยถูกมองว่าเป็น cost center ตลอดมา แต่กับการแข็งขันที่วัดกันที่ total customer’s experience นั้น customer’s service เป็นสิ่งที่สำคัญถึงขั้นชี้เป็นชี้ตายเลยทีเดียว และแน่นอนในมุมของนักการตลาดสมัยใหม่ customer service ไม่ใช่ cost center แน่นอน ในหนังสือเล่มนี้มีเคสของ ComCast ที่อ่านแล้วทำให้คิดว่าเรื่อง customer service experiences เมื่อมารวมกับ social media  แล้วสามารถสร้างสินค้าให้เกิดหรือช่วยกระทืบให้ตายติดดินได้เลยทีเดียว 
หลังจากที่อ่านมาจนจบ ผมบอกได้เลยว่าแนวคิดของหนังสือเล่มนี้คือการทำการตลาดต้องมาจากความจริงใจกับทุกๆคนที่อยู่รอบตัวเรา วิธีนี้เท่านั้นที่จะทำให้ brand  ของเราโตได้อย่างยั่งยืน
อีกความรู้สึกคือทำให้ผมคิดว่าบางอย่างที่เรากำลังทำอยู่นั้นมันอาจจะทำให้เราเสีย focus ไป และต้องมีการปรับกลยุทธ์กันใหม่โดยเร็ว เพื่อให้เรากลับมาบนเส้นทางที่เราวางไว้อีกครั้ง
ถ้าคุณทำตามแนวทางของหนังสือเล่มนี้คุณจะไม่เจอเหตุกาณ์ประเภท ”เส้นผมบังภูเขา” ครับ 
ถือว่าใช้ได้ทีเดียวแม้จะไม่ได้มีแนวคิดใหม่มากนัก ผมให้ 7/10 ครับ 
ขอบคุณที่ติดตามนะครับ
Rawit in Thailand
rawithan.blogspot.com
www.rawit.in.th

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

เตรียมความพร้อมเป็นเจ้าของกิจการ ภาค 1


เตรียมความพร้อมเป็นเจ้าของกิจการ ภาค 1  
ดูเหมือนว่าการที่ได้เป็นเจ้านายของตัวเองนั้นจะเป็นความฝันของหลายๆคน แต่คุณทราบหรือไม่ครับว่าตัวเลขทางสถิติบอกว่าจาก SME 5000 รายนั้นเมื่อผ่านไป 5 ปีจะบริษัทที่พออยู่ได้ประมาณ 500 ราย และมีกำไรเป็นเรื่องเป็นราวประมาณแค่ 20-30 บริษัทเท่านั้นเอง 
เพราะฉะนั้นมันเป็นเรื่องไม่ง่ายเลยครับ การเตรียมพร้อมตอนเริ่มต้นจึงสำคัญมาก 
ผมในฐานะที่ทำกิจการของตัวเอง แม้จะเป็นกิจการที่ตกทอดกันมาแต่การ reorganization ของเรานั้นเกือบจะเหมือนการเริ่มเปิดบริษัทใหม่เลยทีเดียว  เพราะฉะนั้นผมคิดว่าประสบการณ์ของผม คงจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย 
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าผมจะเขียนเรื่องนี้ใน version ของผมเองโดยไม่อ้างอิงแหล่งใดทั้งสิ้น และเป็นมุมมองของผมคนเดียว ถ้าท่านไปอ่านที่อื่นก็อาจจะได้แนวคิดที่ต่างกันไปนะครับ ลองดูหลายๆแนวเอาไว้เป็นทางเลือกครับ 
คนที่เริ่มทำกิจการของตัวเองส่วนใหญ่เรื่องพลังใจ กับความมุ่งมั่นไม่ค่อยมีปัญหาหรอกครับ เพราะถ้าแรงใจไม่พอคงไม่ตัดสินใจเดินทางสายนี้อยู่แล้ว แต่แค่แรงใจอย่างเดียวบางทีมันไม่ตอบโจทย์ครับมันต้องมีอย่างอื่นด้วย ต่อไปนี้เป็นรายการ check list  ที่ควรจะมีตั้งแต่เริ่มกิจการใหม่ๆครับ
  • จะทำอะไรดูให้ถ่องแท้ : ต้องเข้าใจสิ่งที่คุณจะทำก่อน ถ้าไม่แตกต่างอย่างแท้จริงหรือไม่สามารถสร้างมูลค่าให้ผู้บริโภคได้ อย่าทำครับ ธุรกิจ commodity สำหรับ SME ทำยังไงก็ไม่มีทางกำไรครับ และไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจอะไรก็ตามในยุคนี้ต้้องคำนึงถึงการสร้าง brand เป็นอย่างยิ่ง การสร้าง brand ไม่ใช่การโฆษณานะครับ แต่เป็นการเข้าใจถึงตัวตนของเราและการสื่อสารเพื่อให้คนอื่นเข้าใจด้วย เรื่องนี้ลึกซึ้งและละเอียดอ่อน ไว้ผมจะเขียนเรื่อง brand building อีกรอบนึงนะครับ
  • พิจารณาต้นทุนที่คุณมีอยู่อย่างรอบคอบ : คำว่าต้นทุนผมไม่ได้หมายถึงเงินอย่างเดียวนะครับ ผมหมายถึงสิ่งที่คุณมีที่คิดว่าเป็นสิ่งที่เจ๋งที่สามารถจะเอามาต่อยอดในการทำธุรกิจของคุณได้ อันหมายถึง ความรู้ ความถนัด connection ฯลฯ พยายามเอาสิ่งที่คุณมีมาใช้อย่างเต็มที่นะครับ
  • เข้าใจงบการเงิน : ถ้าคุณยังอ่านงบไม่เป็นก็ต้องไปศึกษาให้เป็นซะนะครับ คุณต้องเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของตัวเลขต่างทางบัญชีที่มีผลต่อกำไรสุทธิของคุณ และที่สำคัญกว่านั้นตัวเลขอะไรบ้างที่กระทบกับ  cash flows ของคุณ​อย่าลืมนะครับว่าบริษัทขาดทุนยังอยู่ได้ แต่บริษัทที่ี cash flows  ติดลบอยู่ไม่ได้นะครับ 
  • มองโลกบนพื้นฐานของความจริง : การมองโลกในแง่ดีเป็นสิ่งที่ดี แต่ส่วนใหญ่ในช่วงแรกๆของการเป็นเจ้าของกิจการใหม่ๆส่วนใหญ่ผมจะเจอแต่คนที่มองโลกในแง่ดีเกินไปครับ ผมลองสังเกตดูนะครับว่าเวลาคุยกับ entrepreneur มือใหม่ อะไรๆก็ดูดีไปหมด โปรเจคอะไรๆก็น่าจะทำกำไรได้ไปหมด ทำ project valuation ก็ใช้ assumption แบบไม่เผื่อ unknown factor กันเลย ทำให้มองข้ามความเสี่ยงสำคัญๆไป ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมากครับ ธุรกิจจริงๆ ยากกว่าบนกระดาษเยอะครับ 
  • Focus Focus Focus : เริ่มต้นแรกๆต้อง focus อย่าจับปลาหลายมือ คนทำธุรกิจใหม่ๆจะรู้สึกว่าโอกาสนี้ก็น่าสนใจโอกาสนั้นก็น่าสนใจ จนบางทีทำหลายๆโปรเจคพร้อมกันโดยไม่ประเมินทรัพยากรที่ตัวเองมีอยู่ สุดท้ายก็เจ๊งหมด อย่าลืมนะครับ focus focus focus 
  • ต้องเสริมต้นทุนความรู้ตลอดเวลา : อย่าอยู่เฉยกับการเรียนรู้ และอย่าขี้เกียจ คุณจะทำตัวเหมือนเป็นลูกจ้างไม่ได้เด็ดขาดนะครับ อันนึงที่ทำง่ายและ  effective มากคือเรื่อง ทีวี รับ คนไทยเสียเวลาดูทีวีไร้สาระเยอะมาก คุณต้องมีโควต้าให้ตัวเองครับ ต้องหาเวลาในการศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมให้ชีวิต เช่น การอ่านหนังสือ หรือการหาข้อมูลจาก internet หรือ การออกไปหาแรงบันดาลใจอะไรก็ได้ครับ
  • ระวัง passion มอด : คุณต้องหากระบวนการไม่ให้ passion ของคุณมอดหมดไปนะครับ เพราะนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จทุกคนทำงานเต็มไปด้วย passion ทั้งสิ้นครับ 
  • วางความฝันให้ถูกมุม : ลูกค้าไม่ได้ซื้อความฝันของคุณนะครับ เขาซื้อของที่เขาคิดว่าจะช่วยทำให้ฝันของเขาเป็นจริงต่างหาก เพราะฉะนั้นสินค้าและบริการทั้งหมายต้องตอบโจทย์ครับ และต้องไม่หลงประเด็น
ภาคแรกเอาไว้ประมาณนี้ก่อนนะครับ แล้วภาคสองจะนำเสนอมุมที่ว่าเมื่อทำธุรกิจไป ซักพัก เราต้องเสริมศักยภาพอะไรบ้าง 
แต่อย่าลืมนะครับว่าเส้นทางสายนี้ไม่ได้เหมาะกับทุกคน บางทีการเดินทางสาย corporate ก็ดีไม่แพ้กันหรือสำหรับบางคนอาจจะดียิ่งกว่า เพราะบางคนเหมาะกับการเป็น corporate executive มากกว่า และเรื่องจริงๆ เนี่ย หลายคนที่เป็น corporate  executive  ทำเงินได้มากกว่าพวกเป็นเจ้าของกิจการนะครับ 
ไม่ว่าคุณจะทำอะไรก็ตาม คุณก็มีส่วนช่วยในการพัฒนาโลกเราให้ดีขึ้นได้ครับ 
สำหรับคนที่ตตัดสินใจแน่วแน้แล้วว่าจะมาเป็นเจ้าของกิจการของตัวเองผมขอให้อวยพรโชคดีครับ 
สวัสดีครับ 
Rawit in Thailand
rawithan.blogspot.com
www.rawit.in.th

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

Book review # 4 Built to Love




รีวิวสี่ build to love : creating products that captive customers
การออกแบบผลิตภัณฑ์ได้เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตเรา และกำลังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ใช้ต่อสู้กันในธุรกิจอย่างดุเดือด เพราะงานออกแบบที่ดีสามารถขายได้มากกว่าแค่ functionality แต่เป็นการขายเข้าไปถึงจิตวิญญาณของลูกค้าหรือที่ภาษาใน marketing 3.0 เรียกว่า human centric นั้นเอง ซึ่งระดับการเข้าถึงนี้ลึกกว่าแค่เพียง emotional level ธรรมดาที่เราคุ้นเคยกัน
หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงหลักการและความสำคัญของการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ของใหญ่ๆอย่างรถบรรทุก ไปจนถึงของเล็กๆอย่างแก้วกาแฟ การออกแบบมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของสินค้าทั้งสิ้น หนังสือเขียนโดย Peter Boatwright และ Jonathan Cagan ทั้งสองสอนหนังสืออยู่ที่ Carnegie Mellon จึงทำให้หนังสือเล่มนี้ออกแนวทฏษฎีและวิชาการเยอะหน่อย ซึ่งไม่ใช่แนวที่ผมถนัด แต่บางครั้งคนเราทำอะไรที่ไม่ถนัดบ้างก็ดีครับ จะได้ออกจาก comfort zone บ้าง 
ปัจจุบันสินค้าหลายอย่างขายงาน design กันทั้งนั้นละครับ เพราะมันสัมผัสได้ถึงจิตใจเบื้องลึกของผู้บริโภคได้ เราจึงได้เห็นงาน design เจ๋งๆอยู่เต็มไปหมด ตั้งแต่แก้วกาแฟเท่ห์ๆของ illy เครื่องชงกาแฟที่เอาไปประดับออฟฟิสได้ของ Nesspresso ไปจนถึงชุดโต๊ะทานข้าวของ Barbara Barry  ที่เจ้าของภาคภูมิใจเหลือเกินเวลาได้เลี้ยง  laptop  หน้าตาคมกริบของ Apple  ไปจนถึง รถยนต์ที่มี design สุดคลาสิกอย่าง Porsche 911- 997 หรือแม้แต่ไม้กอล์ฟอย่าง Callaway (ปล เวลามีคนถามว่าผมชอบดีไซน์ของ brand ไทย brand ไหน  ผมตอบได้เลยครับว่าชอบเยอะ แต่ที่ออกแบบได้ “ถึง” จริงๆมีน้อย แต่ก็พอมี เช่น Thakoon เป็นต้น) 
แต่เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์มันมีความซับซ้อนที่ต้องระวังหลายจุด เพราะ ว่าการออกแบบงานที่ดีต้องมีได้อย่างน้อยสามอย่างครับ 
1 ประสาน functionality กับ design ได้ อย่างลงตัว 
2 อย่าลืมว่า beauty is in the eye of the beholder  เพราะฉะนั้นทำการบ้านให้ดีว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณเขาต้องการอะไรกันแน่ 
3 งานออกแบบต้องสะท้อนถึง brand essence ของคุณ ข้อนี้สำคัญมากเพราะงานออกแบบที่ไม่สะท้อนหรือสะท้อนถึง brand essence แบบผิดๆออกมา ก็ทำให้เกิดหายนะได้เหมือนกัน เราได้เห็นเรื่องทำนองนี้บ่อยๆในวงการรถยนต์ 
หนังสือแจกแจงไว้ละเอียดมากๆลองไปอ่านกันดูนะครับ วันนี้ขอจบรีวิวเร็วนิดนึงเพราะถ้าลงรายละเอียดเรื่องการออกแบบ สงสัยผมคงต้องเขียนเป็นสิบหน้าแน่
เรื่องนึงที่ผมอยากฝากไว้ เป็นสิ่งที่ผมได้รับการบอกมาจาก brand consultant ของผมซึ่งผมคิดว่ามีประโยชน์มาก คือ เวลาจะออกแบบงาน corporate identity หรือ  product design กรุณาจ้างคนที่ฝีมือ “ถึง” จริงๆนะครับ อย่าเอาแบบครึ่งๆกลางๆ ของแบบนี้ต้องลงทุนครับ ผมรับรองว่าคุ้มแน่นอน
เนื่องจากแนวหนังสืออาจจะไม่ใช่แนวที่ผมชอบนัก เล่มนี้ให้ 6 คะแนนละกัน 
สวัสดีครับ
Rawit in Thailand
rawithan.blogspot.com
rawit.in.th

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

เมืองไทยอย่าให้เป็นเมืองโจร


เมืองไทยอย่าให้เป็นเมืองโจร
เหตุการณ์หลายอย่างเกิดขึ้นในบ้านเมืองของเราในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเป็นปรากฏการณ์ที่ผมคิดว่าแปลกและน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง 
เหตุการณ์ล่าสุดที่ทำให้ผมเข้าใจถึงคุณภาพของ”คนไทย”บางกลุ่ม ได้แสดงออกมาถึงพื้นฐานทางจิตใจอันเลวร้าย คือเหตุการณ์จากงาน  Expo ของ DTAC ซึ่งพฤติกรรมที่แสดงออกมาในคลิปที่ถ่ายมาใน youtube ซึ่งมีมากมายหลายคลิปมากแสดงให้เห็นถึงความไร้อารยะธรรม ไม่เคารพกฏหมาย ข่มขู่จะพังร้านและเผาร้านดีแทค และอีกมากมายของความสันดานอันเลวทรามของคนพวกนี้ และในที่สุด DTAC ก็ต้องทำตามที่พวก “มัน” เรียกร้องทั้งๆที่ไม่ใช่เงื่อนไขที่ DTAC ประกาศมาตั้งแต่ต้น 
จริงๆปรากฏการณ์ของกฏหมู่ที่ไม่เคารพกฏหมาย ระรานและริดรอนสิทธิของผู้อื่นอย่างหนักเกิดขึ้นมาอย่างรุนแรงซักระยะหนึ่งแล้วครับ และทำท่าว่าจะหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่การปิดสนามบิน เผาเมือง รวมมาถึงเหตุการณ์กรณีรถบรรทุกปลาและรถขนน้ำมันดีเซลคว่ำ และล่าสุดเหตุการณ์กฏหมู่อยู่เหนือกฏหมายจากกรณีของ DTAC (ขอไม่พาดพิงถึงการเมืองนะครับ เดี๋ยวยาว) 
ที่น่าเศร้าคือนอกจากคนเหล่านี้จะไม่โดนลงโทษแล้ว ยังได้ของที่ต้องการอีกต่างหาก ดีไม่ดี ได้รับรางวัลปูนบำเน็จกันด้วย แบบนี้ใครมันจะไม่อยากทำตามครับ จนทำให้สงสับว่า นี้เราอยู่ในรังโจรรึเปล่า 
ผมขอเรียนยืนยันเลยว่าสังคมไทยของเราใกล้เข้าสู่ยุคเมืองโจรเต็มทีแล้ว เมืองโจรที่ว่าคือเมืองที่ใครมืยาวสาวได้สาวเอา ไม่ต้องเคารพสิทธิของใคร ถ้าไม่พอใจอะไรก็ใช้ความรุนแรงจัดการได้ เพราะตำรวจไม่มีปัญญาทำอะไรอยู่แล้ว ถ้าคุณมีเงินเยอะหรือพวกเยอะ
กฏหมายกลายเป็นแค่เศษกระดาษเขียนไว้ปกครองพลเมืองดี แต่สำหรับพวกโจร กฏหมายไม่มีความหมายอยู่แล้ว ถ้าเงินเยอะ หรือ พวกเยอะ (หรือทั้งสอง) จะทำอะไรก็ได้ครับ ไม่มีทางที่เงื้อมมือของกฏหมายจะมาแตะต้องได้ 
ประเทศไทยเคยภาคภูมิใจกับประวัติศาสาตร์ที่ยาวนานและความเป็นอารยะของตนเอง วันนี้มันแทบไม่เหลือแล้วครับ เราได้เคยย้อนถามตัวเองไหมว่า เกิดอะไรขึ้นกับประเทศของเรา ?
ยังไม่สายเกินไปหรอกครับ ที่จะแก้ไขแต่ต้องรีบทำโดยด่วน เรื่องทั้งหมดมันมีสาเหตุมาจากหลายสาเหตุแต่หลักๆผมคิดว่ามันมาจากการปลูกฝังเรื่องสิทธิและหน้าที่ที่ผิดๆตั้งแต่วัยเด็ก ลองมองดูรอบๆตัวของท่านซิครับ ผู้ใหญ่ในสังคมของเรากำลังปลุกฝังค่านิยมเลวร้ายให้เด็กๆทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ลองดูอย่างเรื่องเล็กๆเช่นการ แทรกรถที่ทางขึ้นสะพาน หรือแทรกรถที่ยูเทริ์น มันเป็นการบอกกับเด็กของเราว่า “it’s alright not to obey the queue” หรือการที่พ่อทุบตีแม่หรือใช้ความรุนแรงทางวาจาแก่กัน มันเป็นการบอกกับเด็กเราว่า “it’s ok to use violence”  หรือการที่หัวหน้าครอบครัว กินเหล้าเมายา ติดการพนัน เปิดบ่อนกันกลางงานศพ มันก็เป็นการบอกกับเด็กของเราว่า “it’s ok to be a bad and disgusting person” หรือการที่ผู้ใหญ่ไม่เคารพกฏหมายและไม่ถูกลงโทษ มันเป็นการบอกกับเด็กของเราว่า “it’s ok not to obey the law becuase it’s just bad joke” ลองคิดดูซิครับว่าเราได้สร้างเยาวชนรุ่นหลังแบบไหนขึ้นมา เราสร้างบรรทัดฐานอะไรให้กับลูกหลานของเรา เราประเทศไทยของเราจะเป็นยังไงต่อไป
ยังไม่สายนะครับที่จะช่วยกันสร้างบรรทัดฐานที่ดีให้กับสังคมของเรา
ขอบคุณครับ